เมนู

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ปล่อยวางสังขารในภพ ณ ควงแห่งโพธิพฤกษ์นั่นเอง
แม้ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยเครื่องซ่อมแซม คือสมาบัติ เหมือนทำ
เกวียนเก่าให้ไปได้ด้วยเครื่องซ่อมแซม จึงทรงปล่อยวางอายุสังขารด้วย
ทำพระหฤทัยให้เกิดขึ้นว่า ถัดจาก 3 เดือนนี้ไป เราจักไม่ให้เครื่อง
ซ่อมแซม คือสมาบัติแก่สังขารนี้ ดังนี้แล.
จบอรรถกถาอายุสมโอสัชชนสูตรที่ 1

2. ปฏิสัลลานสูตร



ว่าด้วยพวก 7 คน


[ 132 ] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปุพพาราม ปราสาทของ
นางวิสาขามิคารมารดา ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ในเวลาเย็นพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้น ประทับนั่งอยู่ภายนอกซุ้มประตู ลำดับ
นั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประ-
ทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง ก็สมัยนั้น ชฎิล 7 คน นิครนถ์ 7 คน อเจลก 7 คน เอกสาฎก 7 คน
และปริพาชก 7 คน มีขนรักแร้และเล็บงอกยาว หาบบริขารหลายอย่าง
เดินผ่านไปในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทอด
พระเนตรเห็นชฎิล 7 คน นิครนถ์ 7 คน อเจลก 7 คน เอกสาฎก 7 คน
และปริพาชก 7 คนเหล่านั้น ผู้มีขนรักแร้และเล็บงอกยาว หาบบริขาร
หลายอย่าง เดินผ่านไปในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วทรงลุก

จากอาสนะ. ทรงกระทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่งแล้วทรงคุกพระชานุ-
มณฑลเบื้องขวาลงที่แผ่นดินทรงประนมอัญชลีไปทางที่ชฎิล 7 คน นิครนถ์
7 คน อเจลก 7 คน เอกสาฎก 7 คน และปริพาชก 7 คนแล้วทรง
ประกาศพระนาม 3 ครั้งว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าคือ
พระเจ้าปเสนทิโกศล ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าคือพระเจ้าปเสน-
ทิโกศล ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าคือพระเจ้าปเสนทิโกศล
ลำดับนั้นแล เมื่อชฎิล 3 คน นิครนถ์ 7 คน อเจลก 7 คน เอกสาฎก
7 คน และปริพาชก 7 คนเหล่านั้นหลีกไปแล้วไม่นาน พระเจ้าปเสน-
ทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ท่านเหล่านั้น
เป็นคนหนึ่งในจำนวนพระอรหันต์หรือในจำนวนท่านผู้บรรลุอรหัตมรรค
ในโลก.
[133] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตร
เป็นคฤหัสถ์บริโภคกาม ทรงครองฆราวาสคับคั่งด้วยพระโอรสและพระ-
มเหสี ทรงใช้สอยผ้าแคว้นกาสีและจันทน์ ทรงทัดทรงดอกไม้ ของหอม
และเครื่องประเทืองผิว ทรงยินดีเงินและทอง ยากที่จะทรงทราบได้ว่า
ท่านเหล่านี้เป็นพระอรหันต์ หรือว่าท่านเหล่านี้บรรลุอรหัตมรรค.
1. ดูก่อนมหาบพิตร ศีล พึงทราบได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน และ
ศีลนั้นแล พึงทราบได้โดยกาลนาน ไม่ใช่โดยกาลนิดหน่อย เมื่อมนสิการ
พึงทราบได้ ไม่มนสิการไม่พึงทราบ ผู้มีปัญญาพึงทราบได้ ผู้มีปัญญา
ทราบไม่พึงทราบ.

2. ความเป็นผู้สะอาด พึงทราบได้ด้วยการปราศรัย และความ
เป็นผู้สะอาดนั้นแลพึงทราบได้โดยกาลนาน ไม่ใช่โดยกาลนิดหน่อย มนสิ-
การพึงทราบได้ ไม่มนสิการไม่พึงทราบ ผู้มีปัญญาพึงทราบได้ ผู้มีปัญญา
ทรามไม่พึงทราบ.
3. กำลังใจ พึงทราบได้ในเพราะอันตราย และกำลังใจนั้นแล
พึงทราบได้โดยกาลนาน ไม่ใช่โดยกาลนิดหน่อย มนสิการพึงทราบได้
ไม่มนสิการไม่พึงทราบ ผู้มีปัญญาพึงทราบได้ ผู้มีปัญญาทรามไม่พึง
ทราบ.
4. ปัญญา พึงทราบได้ด้วยการสนทนา ก็ปัญญานั้นแลพึงทราบ
ได้โดยกาลนาน ไม่ใช่โดยกาลนิดหน่อย มนสิการพึงทราบได้ ไม่มนสิการ
ไม่พึงทราบ ผู้มีปัญญาพึงทราบได้ ผู้มีปัญญาทรามไม่พึงทราบ.
[134] ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ไม่เคยมีมา พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า ดูก่อน
มหาบพิตร มหาบพิตรเป็นคฤหัสถ์บริโภคกาม ทรงครองฆราวาสคับคั่ง
ด้วยพระโอรสและมเหสี ทรงใช้สอยผ้าแคว้นกาสีและจันทน์ ทรงทัด
ทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่องประเทืองผิว ทรงยินดีเงินและทอง
ยากที่จะรู้ได้ว่า ท่านเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ หรือว่าท่านเหล่านี้บรรลุ
อรหัตมรรค ดูก่อนมหาบพิตร ศีล พึงทราบได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน
และศีลนั้นแลพึงทราบได้โดยกาลนาน ไม่ใช่โดยกาลนิดหน่อย มนสิการ
พึงทราบได้ ไม่มนสิการไม่พึงทราบ ผู้มีปัญญาพึงทราบได้ ผู้มีปัญญา
ทรามไม่พึงทราบ ความเป็นผู้สะอาด พึงทราบได้ด้วยการปราศรัยและ
ความเป็นผู้สะอาดนั้นแลพึงทราบได้โดยกาลนาน ไม่ใช่โดยกาลนิดหน่อย

มนสิการพึงทราบได้ ไม่มนสิการไม่พึงทราบ ผู้มีปัญญาพึงทราบได้ ผู้มี
ปัญญาทรามไม่พึงทราบ กำลังใจ พึงทราบได้ในเพราะอันตราย และกำลัง
ใจนั้นแลพึงทราบได้โดยกาลนาน ไม่ใช่โดยกาลนิดหน่อย มนสิการ
พึงทราบได้ ไม่มนสิการไม่พึงทราบ ผู้มีปัญญาพึงทราบได้ ผู้มีปัญญาทราม
ไม่พึงทราบ ปัญญาพึงทราบได้ด้วยการสนทนา และปัญญานั้นแลพึงทราบ
ได้โดยกาลนาน ไม่ใช่โดยกาลนิดหน่อย มนสิการพึงทราบได้ ไม่มนสิการ
ไม่พึงทราบ ผู้มีปัญญาพึงทราบได้ ผู้มีปัญญาทรามไม่พึงทราบ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พวกราชบุรุษของหม่อมฉันเหล่านี้ปลอมตัวเป็นนักบวช
เที่ยวสอดแนม ตรวจตราชนบทแล้วกลับมา พวกเขาตรวจตราก่อน
หม่อมฉันจักตรวจตราภายหลัง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดังนี้ พวกเขาลอย
ธุลีและมลทินแล้ว อาบดีแล้ว ไล้ทาดีแล้ว ตัดผมโกนหนวดแล้ว นุ่งผ้าขาว
อิ่มเอิบพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ 5 บำเรอตนอยู่.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง
เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
บรรพชิตไม่ควรพยายามในบาปกรรมทั่วไป ไม่
ควรเป็นคนใช้ของผู้อื่น ไม่ควรอาศัยผู้อื่นเป็นอยู่ ไม่
ควรแสดงธรรม เพื่อประโยชน์แต่ทรัพย์.

จบปฏิสัลลานสูตรที่ 2

อรรถกถาปฏิสัลลานสูตร



ปฏิสัลลานสูตรที่ 2

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า พหิทฺวารโกฏฺฐเก ได้แก่ ภายนอกซุ้มประตูปราสาท ไม่ใช่
ภายนอกซุ้มประตูวิหาร. ได้ยินว่า ปราสาทนั้นเป็นเหมือนโลหปราสาท
โดยรอบ แวดล้อมด้วยกำแพงอันเหมาะแก่ซุ้มประตูทั้ง 4 ด้าน ในร่ม
เงาปราสาทภายนอกซุ้มประตูด้านทิศตะวันออก ในบรรดาซุ้มประตูเหล่า-
นั้น พระองค์ประทับนั่งเหนือบวรพุทธอาสน์ที่บรรจงจัดไว้ ทรงตรวจดู
โลกธาตุด้านทิศตะวันออก.
บทว่า ชฏิลา ได้แก่ ผู้ทรงเพศดาบสผู้มีชฎา. บทว่า นิคฺคณฺฐา
ได้แก่ ผู้ทรงรูปนิครนถ์ผู้นุ่งผ้าขาว. บทว่า เอกสาฏกา ได้แก่ ผู้เอาท่อน
ผ้าเก่าท่อนหนึ่งผูกมือ ปกปิดด้านหน้าของร่างกายด้วยชายผ้าเก่าแม้อื่นนั้น
เที่ยวไป เหมือนพวกนิครนถ์ผู้มีผ้าผืนเดียว. บทว่า ปรูฬฺหกจฺฉนขโลมา
ได้แก่ ผู้มีขนรักแร้งอกแล้ว เล็บงอกแล้ว และขนนอกนั้นก็งอกแล้ว
อธิบายว่า ขนที่รักแร้เป็นต้นยาว และเล็บยาว. บทว่า ขารึ วิวิธมาทาย
ความว่า ใช้สาแหรกต่างๆ หาบเครื่องบริขารของบรรพชิตมีประการต่างๆ.
บทว่า อวิทูเร อติกฺกมนฺติ ความว่า เข้าไปยังพระนครโดยทางไม่ไกลพระ-
วิหาร. บทว่า ราชาหํ ภนฺเต ปเสนทิโกสโล ความว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล
ทรงประกาศว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นพระราชานามว่า ปเสนทิโกศล
ท่านทั้งหลายจงทราบนามของข้าพเจ้า. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระราชา
ผู้ประทับอยู่ในสำนักของอัครบุคคลผู้เลิศในโลก จึงประคองอัญชลีแก่นัก
เปลือยผู้ไม่มีสิริเห็นปานนี้เล่า. ตอบว่า เพื่อต้องการจะทรงสงเคราะห์.
จริงอยู่ พระเจ้าปเสนทิโกศลได้มีพระดำริอย่างนี้ว่า ถ้าเราจะไม่ทำเหตุ